1. จัดหาข้อมูลทั้งหมดของบุคลากร โดยนำข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุดมาจากฝ่ายบุคลากร กลุ่มงานบริหาร 2 ติดต่อประสานงานฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มงานรังสี กลุ่มงานชันสูตร ศูนย์โรคหัวใจ เป็นต้น 3. จัดหาโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมให้แก่บุคลากรทุกระดับ 4. จัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการลงผลและประเมินผลการตรวจ โดย นำมาจากกรมควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม 5. คิดคำนวณข้อมูลในด้านการใช้งบประมาณ 6. จัดทำตารางการเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคลากรในกลุ่มงานต่างๆ 7. จัดทำโครงการเสนอผู้บริหาร 8. ดำเนินการตามแผนงานในโครงการ* (แนบท้าย) 9. สรุปและวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาล โดยการป้อนข้อมูลเข้าสู่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 10. แจ้งผลการตรวจสุขภาพประจำปีแก่บุคลากรรายบุคคล โดยผนึกอย่างมิดชิด 11.สรุปผลการดำเนินการโครงการตรวจสุขภาพบุคลากรโรงพยาบาลหัวหิน ประจำปี พ.ศ. 2552 โดยรวมแก่คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล 12. สรุปผลการตรวจสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลหัวหินประจำปี พ.ศ. 2552 แยกตามฝ่ายต่างๆ เพื่อแจ้งผลโดยรวมต่อหัวหน้ากลุ่มงานย่อยต่างๆ (โดยข้อมูลรายบุคคลของบุคลากรจะไม่ได้แจ้งต่อหัวหน้ากลุ่มงาน เนื่องจากเป็นสิทธิ์ของผู้รับการตรวจ ยกเว้นผู้รับการตรวจนั้นยินยอมให้แจ้งได้ ) 13. นำแบบคัดกรองความเสี่ยงที่ได้มาบันทึกข้อมูล ผ่านระบบอิเลคโทรนิคส์ (INTERNET ) ของ สปสช. เพื่อรับค่าบันทึกข้อมูล จำนวน 50 บาท/คน